เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๔)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถือประมาณบุญแห่งทักษิณาทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการอย่างนี้ว่า ห้วงแห่งบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ มีอารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้ บุญแห่งทักษิณาทานนั้น ย่อมถึงการนับว่า เป็นห้วงแห่งบุญกุศลที่จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นกองบุญใหญ่
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๕)
ถ้าหากว่าสรรพสัตว์พึงรู้ผลแห่งการจำแนกทาน เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ตรัสแล้ว รู้โดยวิธีที่ผลนั้น เป็นผลใหญ่ไซร้ สัตว์ทั้งหลายพึงกำจัดความตระหนี่อันเป็นมลทินเสีย มีใจผ่องใส พึงให้ทานที่ให้แล้วมีผลมาก
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๓)
ทาน ผู้ให้ให้ได้ยาก เพราะต้องครอบงำความตระหนี่ก่อนแล้วจึงให้ได้ การทำทานนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากโดยแท้ อสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทำทานตามที่สัตบุรุษทำแล้ว เพราะเหตุนั้น การไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษกับอสัตบุรุษจึงต่างกัน อสัตบุรุษย่อมไปนรก สัตบุรุษย่อมไปสวรรค์
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๒)
การให้ทาน เป็นเครื่องฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก การไม่ให้ทาน เป็นเครื่องประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๑)
บุญทั้งหลาย เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทั้งหลายในปรโลก
อนาถบิณฑิกเศรษฐี (มหาเศรษฐีเทพบุตร)
การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อให้เห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ให้ภิกษุทั้งหลายเถิด
อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ก่อนลมหายเฮือกสุดท้าย)
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การเข้าไปสงบระงับสังขารเหล่านั้น นำสุขมาให้
อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ยอดกัลยาณมิตร)
ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะแล้ว เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ คือ ทุกข์ และตัณหาอันเป็นแดนเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ อันไปจากข้าศึก ให้ถึงพระนิพพานเป็นที่เข้าไประงับทุกข์ นี้แลเป็นสรณะอันเกษม นี้เป็นสรณะอันอุดม บุคคลอาศัยสิ่งนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ทรัพย์หมด แต่ไม่หมดศรัทธา)
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ประพฤติกรรมอันเป็นบาป เพราะเหตุแห่งความสุขของตน ถูกทุกข์กระทบแล้ว แม้จะพลาดพลั้งลงไป ก็สงบอยู่ได้ ไม่ละทิ้งธรรม เพราะความรัก และความชัง
อนาถบิณฑิกเศรษฐี (บรรลุธรรม)
ผู้ใดยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ผู้นั้นเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ สรณะของผู้นั้นเป็นสรณะอันเกษม เป็นสรณะอันสูงสุด บุคคลอาศัยสรณะนี้แล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้